การจัดการความรู้
Knowledge Management

👉 ความหมายการจัดการความรู้
  1. The World Bank : เป็นการรวบรวมวิธีปฏิบัติขององค์กรและกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับ การสร้าง การนำมาใช้ และเผยแพร่ความรู้และบริบทต่างๆ ทีเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ
  2. European Foundation for Quality Management(EFQM): วิธีการจัดการความรู้เป็นกลยุทธ์และกระบวนการในการจำแนกจัดหาและนำความรู้มาใช้ประโยชน์ เพื่อช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
  3. นพ.วิจารณ์ พานิช: กระบวนการที!ดำเนินการร่วมกันโดยผู้ปฏิบัติงานในองค์กรหรือหน่วยงานย่อยขององค์กร เพื่อสร้างและใช้ความรู้ในการทำงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ดีขึ้นกว่าเดิม โดยมีเป้าหมายพัฒนางานและคน
  4. ก.พ.ร.:การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่ง กระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบเพื่อให้ทุกคนในองค์การสามารถเข้าถึงความรู้และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์การมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด
👉 เมื่อพูดถึง ความรู้ ท่านนึกถึงอะไร
  1. ความรู้ คือ สิ่งทีสะสมมาจากสึกษาเล่าเรียน การค้นคว้าหรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะ ความเข้าใจ หรือสารสนเทศที่ได้รับมาจากประสบการณ์ สิ่งได้รับมาจาการได้ยิน ได้ฟัง การคิดหรือการปฏิบัติองค์วิชาในแต่ละสาขา (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542)
  2. ความรู้ คือสารสนเทศที่ผ่านกระบวนการคิดเปรียบเทียบ เชื่อมโยงความรู้อื่น จนเกิดเป็นความเข้าใจและนำไปใช้ประโยชน์ในการสรุปและตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆ โดยไม่จำกัดช่วงเวลา (Hideo Yamzaki)
👉 ข้อมูล สารสนเทศ และความรู้
  1. ข้อมูล (Data)    คือ ข้อมูลดิบที่เป็นข้อเท็จจริง หรือตัวเลขต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการ (Work Process) หรือที่ได้รับเข้าจากภายนอกองค์กร ซึ่งยังไม่ได้ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ สังเคราะห์ แปลความ และกลั่นกรอง
  2. สารสนเทศ (Information) คือ ข้อมูลที่ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ สังเคราะห์ แปลคสาม และกลั่นกรองแล้ว เพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจและการบริหารจัดการ
  3. ความรู้ (Knowledge) คือ สารสนเทศที่ผ่านกระบวนการคิดเปรียบเทียบเชื่อมโยงกับความรู้อื่น จนเกิดเป็นความเข้าใจ และถูกนำไปใช้ประโยชน์ในการสรุปและตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆ โดยไม่จำกัดช่วงเวลา
👉 แหล่งเก็บความรู้ (คลังความรู้)
  1. สมองของพนักงาน
  2. Knowledge Base (IT)
  3. เอกสาร (Electronic)
  4. เอกสาร (กระดาษ)
👉 รูปแบบความรู้
  1. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เช่น เอกสาร (Document) กฎ ระเบียบ  (Rule), วิธีปฏิบัติงาน (Practice) ระบบ (System)
  2. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เช่น ทักษะ (Skill) ประสบการณ์ (Experience) ความคิด (Mind of individual) พรสรรค์ (Talent)
👉 วงจรสร้างความรู้ (Knowledge Spiral : SECI Model)  อ้างอิงจาก : Nonaka & Takeuchi
  1. Socialization การแบ่งปันและการสร้างความรู้ จาก Tacit Knowledge ไปสู่ Tacit Knowledge โดยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตรงขอวผู้ที่สื่อสารระหว่างกัน
  2. Externalization การสร้างและแบ่งปันความรู้จากการแปลง จาก Tacit Knowledge ไปสู่ Explicit Knowledge โดยเผยแพร่ออกเป็นลายลักษณ์อักษร
  3. Combination การแบ่งปันและการสร้างความรู้ จาก Explicit Knowledge โดยรวบรวมความรู้ ประเภท Explicit ที่เรียนรู้ มาสร้างเป็นความรู้ประเภท Explicit ใหม่ๆ
  4. Internalization การแบ่งปันและสร้างความรู้ จากExplicit Knowledge ไปสTacit Knowledge โดยมักจะเกิดจากการนำความรู้ที่เรียนรู้มาไปปฎิบัติจริง
👉 องค์ประกอบสำคัญของการจัดการความรู้
  1. คน ถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด (เป็นแหล่งความรู้ เป็นผู้นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์
  2. เทคโนโลยี เป็นเครื่องมือเพื่อให้คนสามารถค้นหา จัดเก็บ แลกเปลี่ยน นำความรู้ไปให้ผู้ใช้ได้อย่างง่ายและรวดเร็ว
  3. กระบวนการ เป็นการบริหารจัดการเพื่อนำความรู้จากแหล่งความรู้ไปให้ผู้ใช้ เพื่อทำให้เกิดการปรับปรุงและนวัตกรรม
👉 KM เป็นกระบวนการที่เป็นระบบจะช่วยให้เรา
  1. ทราบว่าจะหาความรู้ที่ต้องการได้ที่ไหน
  2. รวบรวม เรียบเรียงความรู้ (สำคัญๆ) ที่มีอยู่ให้ง่ายต่อการค้นหา
  3. ทำให้ผู้ใช้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้สะดวกในเวลาที่ต้องการ
  4. เอาความรู้ของตนเองและของคนอื่น มาใช้ซ้ำ/ต่อยอดได้
  5. ถนอมรักษาความรู้ที่สำคัญขององค์กรไว้ได้
  6. สร้างความรู้ใหม่ๆได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด
👉 กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management Process : KMP)
  1. การบ่งชี้ความรู้ที่จำเป็นต้องมี โดยกำหนดองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการบรรลุพันธกิจและแผนกลยุทธ์
  2. การสร้างและแสวงหาความรู้ สร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เก่า กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว
  3. การรวบรวมและจัดความรู้ให้เป็นระบบ โดยการปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน พร้อมทั้งปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์วางโครงสร้างความรู้เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต
  4. การถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดี         
    Explicit Knowledge เช่น เอกสาร ฐานความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ
    Tacit Knowledge เช่น ทีมข้ามสายงาน ชุมชนนักปฏิบัติ เครือข่ายผู้ปฎิบัติงาน ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบพี่เลี้ยง
    การสับเปลี่ยนงาน  การยืมตัว  เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น
  5. การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ โดยมีการติดตามการนำเอาองค์ความรู้ไปใช้ในการผลักดันการบรรลุพันธกิจและยุทธศาสตร์
การจัดการความรู้มหาวิทยาลัยขอนแก่น

        มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้นำเครื่องมือ “การจัดการความรู้” หรือ Knowledge Management (KM) มาใช้เพื่อพัฒนาองค์กร พัฒนาศักยภาพของคน พัฒนาประสิทธิภาพงาน เพื่อนำไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization : LO) มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 โดยได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องและเป็นฐานสนับสนุนการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในด้านต่าง ๆ กอปรกับยุทธศาสตร์การบริหารมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ.2563-2566 กำหนดวิสัยทัศน์ คือ “มหาวิทยาลัยวิจัยและพัฒนาชั้นนำระดับโลก”(A World-Leading Research and Development University) ” ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการสร้างองค์ความรู้ ตลอดจนการรวบรวมและใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ดังนั้น เครื่องมือการจัดการความรู้ (KM) จึงเป็นฐานรองรับการสนับสนุนการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย โดยเป็นกระบวนการรวบรวมและสร้างฐานองค์ความรู้หรือคลังความรู้เพื่อรองรับการพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้กำหนดเป้าหมายดำเนินการเพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือ การพัฒนาบุคลากรให้มีสมรรถนะที่สอดคล้องกับการพัฒนาตนเอง การพัฒนางานและการพัฒนาองค์กร การเสริมสร้างบรรยากาศในการทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข